เมื่อพูดถึงอาการ ปวดเมื่อย แล้ว เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะมองเป็นเรื่องของผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งอาการปวดและอาการเมื่อย สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศและทุกวัย เพราะกิจกรรมที่ทำอยู่ในชีวิตประจำวัน อาจพาให้คุณต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งที่มากเกินกว่าปกติ โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ทำงานออฟฟิศ มักจะเกิดปัญหาเจ็บป่วยจากอาการปวดเมื่อยเบื้องต้นมาด้วยกันทั้งนั้น ผู้ที่มีปัญหาเหล่านี้จึงควรรู้ถึงสาเหตุของอาการและสัญญาณเตือนต่าง ๆ เพื่อทำให้คุณได้รู้เท่าทันว่าร่างกายกำลังต้องเผชิญกับปัญหาใดอยู่บ้าง

อาการปวดเมื่อยร่างกาย เกิดขึ้นจากอะไร?

สำหรับคนวัยทำงานและวัยต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาอาการปวดเมื่อย เรื่องแรกที่คุณควรรู้ คือ สาเหตุของการเกิดปัญหา เพื่อการแก้ไขอย่างถูกต้อง โดยจะมีสาเหตุสำคัญที่คนส่วนใหญ่เกิดปัญหาปวดเมื่อย คือ

  • อาการปวดเมื่อยที่เกิดจากกล้ามเนื้อทำงานหนักผิดปกติ มีการหดเกร็ง เนื่องมาจากการกดทับอยู่ที่ท่าใดท่าหนึ่ง โดยจะเกิดขึ้นกับคนทำงานเป็นส่วนใหญ่
  • อาการปวดเมื่อยจากบริเวณเส้นเอ็น จะเกิดจากการเคลื่อนไหวแบบผิดจังหวะ หรือเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องยาวนานเกินไป จึงทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย
  • อาการปวดเมื่อยจากเส้นประสาทถูกกดทับ โดยจะมีอาการแสบร้อนและปวดร้าวร่วมด้วย ซึ่งจะเกิดจากเส้นประสาทอ่อนแรงลง และถูกกดทับอย่างรุนแรง ซึ่งถ้าปล่อยไว้เป็นเวลานานจะเกิดการอักเสบและความเสื่อม  จนอาจพาไปสู่โรคร้ายอื่น ๆ ได้
  • การปวดเมื่อยที่บริเวณข้อจะพบได้มากกับผู้สูงอายุ เพราะเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย รวมไปถึงผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนและผู้ที่ต้องทำงานหนัก ด้วยการแบกหรือการยกของเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง
  • การปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นบริเวณเส้นเลือด จะส่งผลไปสู่การเป็นเส้นเลือดตีบ จึงทำให้เลือดไม่สามารถไปสู่กล้ามเนื้อได้ตามปกติ จึงเป็นอาการปวดที่ค่อนข้างรุนแรง และอาจพาให้จุดที่เกิดอาการนี้หยุดการเคลื่อนไหวแบบกระทันหัน
  • อาการปวดเมื่อยเหล่านี้สามารถบรรเทาได้ด้วย ยาหม่องธัญพัฒน์ ครีมคลายเส้น ยาหม่องคลายเส้น

สัญญาณเตือนปวดเมื่อยที่น่ากลัว พบแล้ว! ต้องรีบพบแพทย์

หนึ่งในเรื่องที่ถือว่าน่ากลัวสำหรับผู้มีอาการปวดเมื่อย คือ สัญญาณเตือนที่จะเป็นการบ่งบอกว่าคุณอาจพบกับปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงในอนาคต ดังนั้นขอแนะนำสัญญาณเตือนของอาการปวดเมื่อยที่พบแล้ว! ต้องรีบพบแพทย์ทันที คือ

  • อาการปวดเมื่อยแบบโรคกล้ามเนื้ออักเสบ จะกระจายความปวดไปทั้งตัวและทำให้เกิดการอ่อนแรง จนอาจทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างยากลำบาก ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะระบบหายใจล้มเหลว
  • อาการปวดเมื่อยที่มาร่วมกับความอ่อนเพลียและเบื่ออาหาร รวมไปถึงน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อาจสื่อให้เห็นถึงการเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือกล้ามเนื้อลีบ
  • อาการปวดเมื่อยที่มีความรุนแรงและมาอย่างต่อเนื่อง แม้ในบางจังหวะจะหายได้เอง แต่ถ้าทวีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด

ถ้าคุณมีอาการ ปวดเมื่อย ควรใช้วิธีกายบริหารร่ายกายอย่างถูกต้อง ตามการแนะนำภายในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลชั้นนำ  เพื่อทำให้ลดอาการปวดและเมื่อยลงได้ดี โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพายาปฏิชีวนะมากจนเกินไป แต่ถ้ามีอาการปวดจนทนไม่ไหว ควรรีบพบแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยารักษาหรือกินตามอาการ เพราะอาจทำให้ร่างกายเสียหายมากกว่าเดิม